มีบุคคลอยู่
๓
ประเภทที่ผมพยายามอยู่ห่างๆ
คือ
๑. ตำรวจ
๒. เจ้าหน้าที่ที่อำเภอ
๓. หมอ
สองประเภทแรกนั้น
ต้องยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปมากพอสมควร
อย่างตำรวจแถวหน้าตลาดบางกะปิใกล้ๆกับที่ผมอยู่นี้ ต้องชมว่าทำงานได้คุณภาพตามมาตรฐาน
ISO-9000 จริงๆ วันก่อนผมโดนเรียกให้หยุดรถ เพราะไปเบียดช่องทางจราจร
เลยรีบเปิดกระจกรถลงมาไหว้ด้วยความนอบน้อม
๑ ที พร้อมกับเริ่มต้นเจรจา
"พี่ๆ พอจะช่วยกันหน่อยได้ไหมครับ
ผมจะรีบไปธุระ"
ตำรวจผู้นั้นตอบด้วยความสุภาพว่า
"ไม้ช้าหรอกครับ
ไม่เกิน
๑ นาทีเสร็จ"
ว่าแล้วก็เริ่มเขียนใบสั่ง
กรอกข้อมูลต่างๆลงไป
แล้วฉีกส่งให้ผมภายในเวลา
๑ นาทีจริงๆ
"เรียบร้อยแล้วครับ
เชิญไปได้"
วันนั้น
ผมเลยต้องใช้ใบสั่งแทนใบขับขี่ไปครึ่งวัน
หลังจากเสร็จธุระแล้ว
ผมรีบตรงมาที่โรงพัก
จ่ายค่าปรับเต็มอัตรา
๔๐๐ บาทเสร็จแล้ว นึกว่าจะได้ใบขับขี่คืน
แต่ที่ไหนได้
นอกจากจะโดนหัก
๑๐ คะแนนแล้ว ยังต้องโนยึดใบขับขี่เป็นเวลา
๑๕ วัน
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
ผมได้เรียนรู้ว่า
จะขับรถให้ถูกต้องตามกฎจราจรจะต้องทำอย่างไร
เจ้าหน้าที่ที่อำเภอก็เช่นเดียวกัน
เดี๋ยวนี้พูดจาอัธยาศัยดี
มีจิตใจบริการ
และมีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน
สามารถบอกได้ว่างานจะเสร็จภายในเมื่อไหร่
ไม่ปล่อยให้เราเฝ้ารอ
แถมบางทียังมีการเก็บข้อมูลความพอใจของลูกค้าที่ไปใช้บริการอีกด้วย
น่าสรรเสริญจริงๆ
แต่ประเภทที่ไม่ค่อยจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง
ต้องยกให้คุณหมอทั้งหลาย
โดยเฉพาะหมอดังๆ เราเจ็บป่วยไม่สบายก็เครียดอยู่แล้ว
มาเจอคุณหมอหน้าตาดุๆ
(เหมือนบางแก้ว)
ก็ยิ่งเครียดใหญ่ อย่างปีที่แล้ว
พาลูกสาวไปตรวจร่างกายที่ศิริราช
คุณหมอบอกว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังคด
(
Scoliosis ) ต้องผ่าหลังเอาเหล็กยาวเข้าไปดามกระดูกให้ตรง
แค่ได้ฟังเราก็เสียววูบที่กระดูกสันหลังและเป็นห่วงแทนลูกสาวแล้ว
เพราะบริเวณนั้นมีเส้นประสาทเต็มไปหมด จะมั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดภัย จึงพยายามซักถามคุณหมอเพื่อขอความมั่นใจ คุณหมอเองก็คงรำคาญ
เลยพูดแบบถามคำตอบคำ
ท้ายที่สุด
ผมไม่มีทางเลือกมากนัก
เลยต้องฝากชีวิตลูกสาวไว้กับคุณหมอ
การผ่าตัดใช้เวลากว่า
7 ชั่วโมงแล้วต้องไปอยู่ในห้องไอซียู
1 คืน
ทุกอย่างจบลงด้วยดี
ลูกสาวผมสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายในเวลา
1 อาทิตย์
และหลังจากนอนพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา
1 เดือน
ก็สามารถเดินได้เป็นปกติ
ผมคิดว่าคงต้องยอมยกให้อาชีพหมอสักอาชีพหนึ่ง
เพราะหมอคงเครียดกับงานจนไม่มีเวลาจะมาใส่ใจกับคนไข้หรือพ่อแม่ของคนไข้มากนัก
ปกติคนไข้ของคุณหมอผู้นี้ก็มากอยู่แล้ว
จะมารอคิวตั้งแต่เช้าจนล้นห้อง บ่อยครั้งที่คุณหมอไม่มีเวลาพักทานอาหารกลางวัน
แต่คุณหมอก็ขยันมาเยี่ยมคนไข้แต่เช้า
และพยายามถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ที่มาร่วมฟังการวินิจฉัยโรค
ผมมารู้สึกชื่นชมคุณหมอผู้นี้ในภายหลังว่า
ถึงแม้ท่านจะพูดน้อย
แต่ก็เป็นคนจริงจังและมีความรับผิดชอบสูง
ถ้าลูกใครหลานใครมีอาการกระดูกสันหลังคด
ควรรีบพามาให้คุณหมอดูโดยไว
ก่อนที่จะทรุดหนักลงไปกว่านี้
โรคนี้จะเป็นมากในเด็กผู้หญิงที่กำลังโตเป็นสาว ฟังมาว่า
เด็ก 100 คน
จะเป็นโรคนี้ประมาณ
3 คน สามารถตรวจดูอาการได้โดยให้เด็กก้มตัวเอาปลายนิ้วมือทั้งสองข้างเหยียดตรงไปที่เท้า
แล้วสังเกตแผ่นหลังดูว่ามีอาการสูงต่ำไม่เท่ากันหรือไม่ ในรายที่เป็นมาก
จะมีลักษณะเป็นโหนกนูนขึ้นมาบนข้างใดข้างหนึ่งของแผ่นหลังอย่างชัดเจน
ต้องรีบพาไปให้หมอตรวจรักษานะครับ
ที่เล่าเรื่องหมอคนมาเสียยืดยาว
ไม่ใช่ต้องการโฆษณาอะไรหรอกนะครับ
เพียงแต่ต้องการนำมาเปรียบเทียบกับหมอหมาว่าต่างกันที่ตรงไหน
หลังจากที่เจ้าปิงปอง
(ชื่อใหม่ของเจ้ามอมที่อาม่าตั้งให้)
มาอยู่ที่บ้านได้
๑ เดือน
ก็ครบกำหนด ๓ เดือนที่จะต้องพาลูกสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ
รวมทั้งทำการถ่ายพยาธิด้วย
ผมได้หารือกับแฟนว่าจะลองหาคลีนิคสุนัขที่ใหม่ดู เพราะคลีนิคเดิมที่เคยพาเจ้าโบไปฉีดวัคซีนและผ่าตัดทำหมันนั้น
ดูท่าทางไม่ค่อยจะเป็นคนรักหมาเลย
ไม่เคยเห็นหมอพูดกับหมาสักคำ
อย่างน้อยก็ควรทักทายตรวจสอบสภาพร่างกายโดยทั่วไปบ้าง
ไม่ใช่ไปถึงก็จับฉีดยาผ่าตัดโดยไม่พูดพล่ำทำเพลง
สุนัขคงจะไม่ชอบหมอด้วย
หันกลับมากัดมือหมอเบาๆ
แต่ก็ต้องหลับไปด้วยฤทธิ์ยาสลบ หลังจากที่เจ้าโบผ่าตัดทำหมันกลับมาแล้ว
มันแทะไหมที่หมอเย็บแผลออก มองเห็นท้องไส้ภายในน่าหวาดเสียว ต้องพากลับไปให้หมอช่วยดูใหม่
หมอเลยฉีดยาแก้อักเสบให้ แล้วคิดค่ายาเพิ่มอีกหลายร้อย ทั้งๆที่น่าจะเป็นความรับผิดชอบของหมอในการเย็บและปิดปากแผลให้แน่นหนากว่านี้
คลีนิคสุนัขแห่งใหม่ที่พาเจ้าปิงปองไปนั้น
ดูท่าจะเพิ่งเปิดใหม่
เพราะยังไม่มีคนไข้มากนัก
เจ้าหน้าที่ของคลีนิคต้องโทรตามให้คุณหมอมา
เสียเวลารอไปพักใหญ่
เมื่อคุณหมอมาถึงก็จัดการฉีดวัคซีนให้กับเจ้าปิงปองโดยไม่พูดพล่ำทำเพลงอีกเช่นกัน เจ้าปิงปองตกใจจะแว้งมากัดเอา
ผมต้องช่วยจับตัวมันไว้
มีความรู้สึกว่าคุณหมอนี่จะไม่ค่อยรู้เรื่องสุนัขเอาเสียเลย
ถามคำตอบคำ
ไม่คุ้มกับการไปนั่งรออยู่ตั้งพักใหญ่
หมอนัดให้พามาฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกเดือนหน้า
แต่ผมก็ได้ตัดสินใจตั้งแต่ตอนก้าวเท้าออกจากร้านแล้วว่า
คงมาที่นี่ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย
หนึ่งเดือนผ่านไป
ผมกับแฟนพาเจ้าปิงปองไปหาหมอตามนัดที่คลีนิคใหม่อีกแห่งหนึ่ง
คลีนิคนี้เลี้ยงหมาพูเดิ้ลอยู่ตัวหนึ่งไว้ทักทายกับคนไข้ที่เป็นหมาทั้งหลาย
รู้สึกพนักงานต้อนรับตัวนี้จะทำงานได้ผล
เจ้าปิงปองตื่นเต้นดีใจที่มีเพื่อนเล่นใหม่ในคลีนิค
มันยอมให้ฉีดวัคซีนกระตุ้นแต่โดยดี
แต่ดูท่าทางคุณหมอก็ไม่ใช่คนที่รักสุนัขสักเท่าไหร่
หมาพูเดิ้ลตัวนั้น หมอแกก็ไม่ได้เลี้ยงเอง
มีคนอื่นดูแลให้
แล้วเอามาเป็นพนักงานต้อนรับเท่านั้น
ผมคิดว่าในการสอบเข้าศึกษาในคณะสัตวแพทย์
น่าจะมีการสอบวัดระดับความรักสัตว์ด้วยก็ดีนะ
จะได้หมอที่คุยภาษาหมารู้เรื่องบ้าง
ไม่ใช่ฉีดยาผ่าตัดเป็นอย่างเดียว
หมาเองก็มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน
ถ้าไม่รู้จักผูกใจหมาไว้แล้ว
เจ้าของหมาคงไม่อยากพามาอีก
คลีนิคคุณหมอจะร้างผู้มาใช้บริการ เพราะหมอไม่รู้ว่าลูกค้าคือพระเจ้า
จะต้องมีการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
(Customer
Relationship Management) ให้ดีกว่านี้ จึงจะดึงลูกค้าให้อยู่เป็นขาประจำได้ตลอดไป
ถึงแม้หมอจะเก่งแค่ไหน
ลูกค้าอาจไม่สนใจก็ได้
เพราะมีโรงพยายาลสัตว์อยู่มากมายทั้งของรัฐและเอกชน
ตรงนี้เองที่ผมคิดว่าเป็นความแตกต่างระหว่างหมอหมากับหมอคน
หมอคนพูดน้อยหน่วย
คนไข้ก็ไม่ว่าอะไร
เพราะอย่างไรเสีย
คุณหมอก็ยังเป็นผู้มีพระคุณ
แต่ถ้าหมอหมาพูดน้อย
หรือไม่พูดกับหมาบ้างเลย
จะให้เจ้าของหมามั่นใจไอย่างไรว่าคุณหมอมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาหมาจริง
ต้องขอโทษหมอหมาทั้งหลายด้วย
แต่ผมคิดว่าเจ้าของหมาส่วนใหญ่จะคาดหวังความใจดีรักสัตว์กับคุณหมอค่อนข้างมาก
ถ้าคุณหมอสามารถเข้าไปยืนอยู่กลางหว่างใจของคนไข้ได้ รับรองได้เลยว่าคลีนิคคุณหมอไม่ร้างแน่
แต่ก็ใช่ว่าผมจะพบพานแต่หมอหมาที่ไม่ช่างคุยหรอกนะครับ
หลังจากที่ผมตามหาเจ้าของเดิมของปิงปองไม่พบ
ทำให้ต้องนำมันกลับมาเลี้ยงอยู่ในบ้านท่านกลางความเป็นห่วงของหลายๆคนว่ามันจะกัดคนในบ้านหรือไม่
ผมเริ่มศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสุนัขบางแก้วอย่างจริงจังทั้งจากหนังสือและข้อมูลต่างๆ
บนเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต
ผมพบเว็บไซต์ตอบปัญหาสุนัขของคุณหมอท่านหนึ่ง
มีคำถามเกี่ยวกับสุนัขที่ผู้เลี้ยงโพสต์เข้ามาถามมากมายร่วมหมื่นคำถาม
แต่คุณหมอก็ขยันตอบทุกคำถามอย่างไม่รอช้าและไม่เบื่อหน่าย
แม้ว่าบางคำถามจะซ้ำๆหรือบางคำถามจะไม่มีสาระเลย
คุณหมอพยายามตอบ
บางครั้งก็ตอบห้วนไปจนสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ถามก็มีเหมือนกัน
ผมลองสืบค้น( search ) ดูว่ามีคำถามเกี่ยวกับบางแก้วบ้างหรือไม่
ก็ปรากฏว่ามีอยู่มากมายเป็นร้อยคำถาม
ผมจึงนั่งอ่านไปทีละคำถาม สิ่งที่ผมตั้งใจอยากจะถาม
ส่วนใหญ่จะมีคำตอบอยู่ในนั้นอยู่แล้ว
ไม่ต้องถามใหม่ให้เสียเวลา
แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมค่อนข้างจะตกใจก็คือ
ในหลายๆคำถาม
คุณหมอจะตอบในลักษณะเดียวกันว่า
ไม่แนะนำให้เลี้ยงสุนัขบางแก้ว บางตัวที่ดุ
คุมไม่อยู่
คุณหมอจะแนะนำให้ฉีดยาให้สุนัขหลับตลอดไป
ผมมีโอกาสพบคุณหมอท่านนี้โดยบังเอิญในงานบริจาคเงินช่วยเหลือโครงการดูแลสุนัขจรจัดที่คุณหมอรับผิดชอบอยู่ รู้สึกว่าคุณหมอจะเป็นกันเองดี และมีความสุขกับการดูแลและรักษาสุนัข
ลองถามท่านว่าการดูแลรักษาสุนัขนี่มีความเครียดเหมือนการดูแลรักษาคนบ้างไหม
ท่านตอบว่า
ก็มีเหมือนกัน
แต่ไม่ได้เครียดกับสุนัขหรอก
เครียดกับคนเลี้ยงที่พาสุนัขมามากกว่า
คนเลี้ยงบางคนก็รักสุนัขราวกับลูกของตัวเอง
ในจุดนี้
ผมเริ่มเห็นใจคุณหมอที่เป็นหมอหมามากขึ้น
ถ้าเจอคนเลี้ยงสุนัขที่จุกจิกจู้จี้เซ้าซี้ซักถามมากๆ
ก็คงทำให้คุณหมอปวดหัวจนเกิดอาการเครียดได้
อย่างไรก็ตาม ผมมีโอกาสถามปัญหาเกี่ยวกับสุนัขบางแก้วไปหลายข้อ คุณหมอท่านนั้นก็ตอบด้วยอารมณ์ดี
ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า
ท่านไม่ได้ต่อต้านการเลี้ยงสุนัขบางแก้ว เพียงแต่ท่านเห็นว่าควรมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ไม่ใช่เพาะพันธุ์ไว้ขายเพียงเพื่อหวัง
ผลประโยชน์เฉพาะหน้าอย่างที่ท่านเคยประสบพบมา
ซึ่งอาจทำให้ได้ลูกสุนัขบางแก้วที่มีจิตประสาทไม่มั่นคง
มีนิสัยก้าวร้าวและดุร้ายเกินไป
คุยกับคุณหมอแล้ว ก็ให้เป็นห่วงว่าเจ้าปิงปองจะมีนิสัยก้าวร้าวและดุร้ายหรือไม่ ตอนนี้
เจ้าปิงปองมันค้นเคยกับทุกคนในบ้านเป็นอย่างดี
รวมทั้งเจ้าโบ
ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนที่คอยเล่นวิ่งไล่จับกับมันทุกเย็น
เป็นทั้งแม่ที่คอยดูแลไซ้ขนหาเห็บให้ และเป็นทั้งพี่ที่คอยปรามเมื่อมันดื้อไม่เชื่อฟัง มีอยู่หลายครั้งที่เจ้าปิงปองจะวิ่งตามผมเข้าไปในบ้าน เจ้าโบจะคอยช่วยงับคอเจ้าปิงปองลากออกมานอกบ้าน เพราะเจ้าโบทราบดีว่า
ผมไม่อนุญาตให้เข้าไปในบ้าน
สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะรู้จักคุณหมอที่ผมเอ่ยถึงข้างต้น
ลองไปดูที่เว็บไซต์ข้างล่างนี้ได้ครับ
http://www1.lemononline.com/pets/askvet/a.asp?type=1&q_id=16556